🎀💙 วันนี้ สวิมมิ่ง คิดส์ ขอแชร์บทความดีๆ “16 ไอเท็มที่ควรมีในตู้ยาสามัญประจำบ้านเมื่อลูกป่วย”
สิ่งที่จำเป็นอีกอย่างหนึ่งในการดูแลลูกน้อยของเราก็คือการเตรียมยาสามัญประจำบ้านให้พร้อมอยู่เสมอเพราะคุณพ่อคุณแม่ไม่รู้เลยว่าลูกน้อยของเราจะมีอาการเจ็บป่วยเล็กน้อยขึ้นมาเมื่อใด ดังนั้นการเตรียมรับมือถือว่าเป็นเรื่องที่ดีและยังสามารถทุเลาความเจ็บปวดของลูกเราได้ดีอีกด้วย
ยาสามัญที่ควรมีประจำบ้าน
💊 1. เกลือแร่สำหรับเด็ก
เป็นสารที่ช่วยทดแทนการสูญเสียเกลือแร่และน้ำในร่างกาย จากอาการท้องเสียและอาเจียน นำเกลือแร่มาละลายน้ำอุณหภูมิปกติ หลังจากละลายแล้วไม่ควรเก็บไว้เกิน 24 ชั่วโมง สำหรับเด็กที่อายุน้อยกว่า 6 เดือน ให้ผสมเกลือแร่ดื่ม 2-3 แก้ว / และอายุ 2-5 ปี ให้ผสมเกลือแร่ดื่ม 3-4 แก้ว ถ้าอายุมากกว่า 5 ปี ให้ดื่มเรื่อยๆ จนกว่าจะอาการดีขึ้น และถ้าหากพบความผิดปกติในระหว่างการใช้ผงเกลือแร่ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อความปลอดภัย
💊 2. ยาทาผื่นผ้าอ้อม
หากลูกน้อยรู้สึกระคายเคืองมีผื่นแดงเป็นปื้นๆ บริเวณที่ใส่ผ้าอ้อม คุณพ่อคุณแม่จะต้องทำความสะอาดบริเวณที่เกิดผื่น และควรทายาที่เป็นครีมหรือขี้ผึ้งสำหรับผื่นผ้าอ้อมบางๆ จะช่วยป้องกันไม่ให้บริเวณนั้นเกิดการเสียดสีเพิ่มมากขึ้น ควรหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของเบกกิ้งโซดา กรดบอริก การบูร ฟีนนอล เบนโซเคน ไดเฟนไฮดรามีน หรือซาลิซัยเลท เนื่องจากอาจเป็นอันตรายต่อผิวลูกน้อยได้
💊 3. มหาหิงค์
ยามหาหิงค์เป็นยาทาภายนอก ใช้ขับลม แก้อาการเกร็ง แก้ท้องเฟ้อ เสียดท้อง วิธีการใช้คือนำสำลีมาชุบและทาที่บริเวณหน้าท้อง ฝ่าเท้าของเด็ก ห้ามนำมาทานหรือผสมน้ำเด็ดขาด ควรเก็บไว้ไกลมือเด็ก และควรทาในที่ที่มีอากาศถ่ายเท
💊 4. ขี้ผึ้งสำหรับทาเวลาแมลงกัดต่อย
ขี้ผึ้งสมุนไพรใช้ทาผิว ช่วยลดการอักเสบติดเชื้อ ฟกช้ำ บรรเทาอาการหวัด แก้ปวด และแมลงกัดต่อยได้ ขี้ผึ้งเป็นยาภายนอกเท่านั้น ห้ามรับประทาน ไม่ควรวางไว้ใกล้เด็กหรือเผลอเปิดฝาทิ้งไว้
💊 5. คาลาไมน์โลชั่น
ยาคาลาไมล์โลชั่น เป็นยาน้ำแขวนตะกอน แป้งน้ำจะเป็นสีชมพู ที่ใช้บรรเทาอาการคันตามผิวหนัง เช่น ผดผื่นคัน ลมพิษ ผื่นแพ้ เริม งูสวัส เป็นต้น ยานี้เป็นยาที่ปลอดภัยคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ก็สามารถใช้ยานี้ได้ ไม่มีผลข้างเคียงใดๆ ซึ่งตัวยาสำคัญของยานี้ก็คือ ซิงค์ออกไซด์ มีฤทธิ์ฝาด ช่วยบรรเทาการระคายเคืองของผิวหนัง ลมพิษ ผื่นคัน ลดอาการอักเสบได้ระดับหนึ่ง ยานี้ห้ามทาบริเวณริมฝีปาก ภายในช่องปาก รอบตา หรือทาลูกตา ใช้ทาบริเวณที่มีอาการคันในขนาดที่พอเหมาะ วันละ 3-4 ครั้ง (หลังอาบน้ำ เช้าเย็น)
การเก็บรักษานั้นควรปิดให้สนิท และเก็บให้พ้นมือเด็ก ต้องเก็บที่อุณหภูมิห้องและให้พ้นแสงแดดหรือที่ที่ร้อนกว่า 30 องศาเซลเซียส หากมีอาการแพ้ควรรีบล้างยาออกด้วยน้ำสะอาดและไปพบแพทย์โดยทันที
💊 6. ยาน้ำแก้ปวดลดไข้
ปัจจุบันยาน้ำแก้ปวดลดไข้มีรสต่างๆ ให้เด็กได้รับประทานได้ง่ายขึ้น ใช้บรรเทาอาการปวดลดไข้ และปราศจากแอสไพรินและแอลกอฮอล์ รับประทานทุก 4-6 ชั่วโมง เมื่อมีอาการ
– เด็กอายุ 1-2 ปี รับประทานขนาด 1.2 – 1.8 มล.
– เด็กอายุ 6-12 เดือน รับประทานขนาด 0.6 – 1.2 มล.
– เด็กอายุ 0-6 เดือน รับประทานขนาด 0.3 – 0.6 มล.
ไม่ควรรับประทานเกินวันละ 4 ครั้ง หรือไม่ควรรับประทานยาตัวนี้ร่วมกับยาอื่นที่มีพาราเซตามอลเป็นส่วนประกอบและไม่ควรรับประทานยาเกิดขนาดที่แนะนำ ที่สำคัญยาลืมอ่านฉลากก่อนใช้ยาทุกครั้งด้วย
💊 7. ยาแก้แพ้ ลดน้ำมูก
อาการเป็นหวัดทำให้ลูกน้อยรู้สึกไม่สบายตัว ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ก็จะหายาลดน้ำมูกมาให้เด็กๆ ได้รับประทานกัน ซึ่งยากแก้แพ้ มีทั้งชนิดน้ำเชื่อมและชนิดเม็ด ยาแก้แพ้ชนิดน้ำเชื่อมเหมาะสำหรับเด็กเล็กที่อายุต่ำกว่า 4 ปี ลงไป แต่ไม่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 2 สับดาห์ เพราจทำให้เด็กๆ มีเสมหะที่เหนียวขับออกยาก ส่วนยาชนิดเม็ดเป็นยาที่เมื่อเรามีอาการป่วยเป็นหวัด คัดจมูก น้ำมูกไหล จาม หรือแพ้อาหารบางอย่างมาก็มักจะกินเพื่อบรรเทา
ยาที่เหมาะสมสำหรับเด็กๆ ก็คงจะเป็นยาชนิดน้ำเชื่อ ซึ่งเด็ก 4-7 ปี ทานครั้งละ ครึ่งถึงหนึ่งช้อนชา เด็กอายุ 1-4 ปี กินครั้งละ ครึ่งช้อนชา โดยไม่มากกว่า วันละ 3-4 ครั้งต่อวัน และเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 1 ปี กินครั้งละ ครึ่งช้อนชา และต้องไม่มากกว่าวันละ 2 ครั้งต่อวัน
💊 8. ยาแก้ไอเจ็บคอเด็ก
ยาแก้ไอมักพบในท้องตลาดจะมีทั้งแบบน้ำ แบบเม็ด ยาแผนปัจจุบัน ยาสามัญประจำบ้านต่างๆ และยาที่เป็นอันตรายที่คุณพ่อคุณแม่ไม่รู้ ซึ่งการดูแลเบื้องต้นเมื่อเด็กๆ ไอคุณพ่อคุณแม่ก็ต้องใช้ยาให้ถูกลักษณะการไอของเด็กๆ ด้วย ถ้าใช้ผิดอาจจะทำให้อาการกำเริบมากกว่าเดิมก็ได้ และเป็นอันตรายกับเด็กๆ ได้เหมือนกัน เพราะฉะนั้นควรทานยาตามคำสั่งจากคุณหมอเท่านั้น แต่หากมีความจำเป็นจริงๆ ที่ต้องทานเอง แนะนำว่าควรมีใบสั่งยาจากแพทย์ หรือไม่ควรเลือกร้านขายยาที่มีเภสัชกรแนะนำการใช้ยาเท่านั้น เพื่อความปลอดภัยกับเด็กๆ นั้นเอง
การรับประทานยานั้น
– เด็กที่อายุต่ำกว่า 2 ปี ให้ใช้ตามคำสั่งแพทย์เท่านั้น
– เด็กอายุ 2-5 ปี ควรรับประทานครั่งละ ค่อน (¼) -1 ช้อนชา วันละ 3-4 ครั้งเมื่อมีอาการไอ
– เด็กที่มีอายุ 6-12 ปี ควรรับประทานครั่งละ ค่อน (½)-1 ช้อนชา ทุก 4 ชั่วโมง
💊 9. ยาทาแผลสด
เด็กๆ กำลังซนก็ต้องคู่กับบาดแผลเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรมียาและอุปกรณ์ทำแผลติดตู้ยาไว้ หากมีกรณีฉุกเฉินเกิดเลือดออกแบบแผลไม่ลึกมากขึ้นมา ก็สามารถนำน้ำเกลือล้างแผล และใช้ยาพวกโพวิโดน-ไอโอดีน หรือพวกยาครีมขี้ผึ้งที่ผสมยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย มาทาให้กับเด็กๆ ได้
💊 10. อุปกรณ์ทำแผลเบื้องต้น
อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ ไม่เว้นแต่ในบ้านของเรา เพราะฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่ต้องเตรียมพร้อมสิ่งที่จะเกิดขึ้นทุกเมื่อกับคนในครอบครัวโดยเฉพาะลูกๆ และสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยก็คืออุปกรณ์ทำแผลเบื้องต้นนั้นเอง สิ่งที่จำเป็น เช่น ยาล้างแผล ช่วยให้แผลไม่ติดเชื้อ ไม่เป็นบาดทะยัก , สำลี เช็ดทำความสะอาดสิ่งสกปรกต่างๆ , พลาสเตอร์ปิดแผล เอาไว้ปิดไม่ให้เชื้อโรคเข้าสู่แผลของเด็กๆ หลังทำความสะอาดแผลเรียบร้อยแล้ว , ผ้าพันแผลแบบยืด เมื่อเกิดอาการบวม เคล็ด หรือข้อพลิกต่างๆ ผ้าพันแผลแบบยืดนี้จะช่วยรัดไม่ให้ร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่งขยับได้ ลดอาการบวม อีกทั้งยังช่วยห้ามเลือดได้ด้วย
💊 11. ยาทาปาก
ใช้ยาพวกกลีนเซอรีน บอแรกซ์ ที่เป็นนน้ำใสข้น ไม่มีสี หรือจะใช้เจนเชี่ยนไวโอเล็ต ทาแผล ลิ้นแตก เป็นฝ้าขาวได้ แต่ทางที่ดีคุณพ่อคุณแม่ควรให้เด็กๆ ได้ดื่มน้ำเป็นประจำ หรือทานผักผลไม้พวก กล้วยน้ำว้า แก้วมังกร แคนตาลูป แตงโม มะพร้าว เป็นต้น เพื่อช่วยให้ลูกลดอาการร้อนใน และทำให้แผลหายได้เร็วยิ่งขึ้นนั้นเอง
💊 12. ปรอทวัดไข้
ปรอทวัดไข้เป็นอุปกรณ์หนึ่งที่ควรมีประจำบ้านสักอัน สามารถใช้ได้หลายวิธี ทั้งอมใต้ลิ้น หนีบรักแร้ หรือสอดทางทวารหนัก แต่สำหรับเด็กเล็กหรือทารกคุณพ่อคุณแม่ไม่ควรให้เขาอมหรือหนีบปรอท ควรสอดทางทวารหนัก (กรณีปรอทธรรมดา) ส่วนเด็กที่โตมาหน่อย แต่ยังไม่เกิน 5 ขวบ อาจจะงอแงไม่ยอมอม อาจจะต้องให้หนีบใต้รักแร้ ประมาณ 5 นาที ส่วนเด็กที่โตแล้วควรอมไว้ใต้ลิ้นลึกประมาณ 3-4 เซนติเมตร และที่สำคัญก่อนใช้ควรสะบัดปรอทเบาๆ เพื่อให้ปรอทไหลกลับลงกระเปาะให้หมดก่อนนั้นเอง แล้วจึงใช้งานได้ค่ะ
💊13. เจลลดไข้
ถือว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นมากๆ สำหรับคุณแม่ๆ ที่มีลูกเล็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 10 ขวบ ใช้เมื่อลูกน้อยมีไข้สูงตลอดเวลา คุณพ่อคุณแม่ก็ใช้แปะตรงหน้าผากให้ลูก โดยไม่ต้องเช็ดตัวตลอดเวลา คุณสมบัติก็คือ ดูดซับเอาความร้อนมาไว้ที่เจล ทำให้อุณหภูมิที่หัวของลูกลดลง ซึ่งสะดวกสบายอย่างมาก
💊 14. วิคส์ หรือน้ำมันยูคาลิปตัส
เมื่อไหร่ที่เด็กๆ เป็นหวัดคัดจมูก คุณพ่อคุณแม่ใช้น้ำมันยูคาลิปตัสหรือวิคส์ทาอก ฝ่าเท้า ทาหลัง หรืออาจจะป้ายไว้ที่เสื้อผ้าของเด็กๆ แต่ไม่ควรทาไปที่จมูกของลูกโดยตรง เพราะจะทำให้ลูกน้อยแสบจมูก อีกทั้งเมื่อเด็กๆ เอามือไปโดนจมูกเข้า ก็จะทำให้เด็กๆ เอามือไปป้ายหน้าป้ายตา ทำให้แสบตาไปด้วย หรือถ้าเป็นน้ำมันยูคาลิปตัส คุณแม่ๆ อาจจะหยดบนผ้าหรือหมอน ทำให้เด็กๆ ช่วยจมูกโล่งขึ้น
💊 15. น้ำเกลือล้างจมูก
เมื่อไหร่ที่เด็กๆ เป็นหวัดแล้วหายใจไม่สะดวก การล้างจมูก ล้างน้ำมูกทำให้เด็กๆ หายใจได้คล่องขึ้น แถมยังช่วยกำจัดของเสียและเชื้อโรคในจมูกอีกด้วย
💊 16. ยาแก้ท้องผูก
ท้องผูกเป็นปัญหาเกี่ยวกับการขับถ่ายอุจจาระที่มีลักษณะที่ค่อนข้างแข็งมากกว่าปกติ ซึ่งการท้องผูกก็เป็นปัญหาทำให้เด็กๆ มีอาการเจ็บปวดตามมา หรือบางครั้งก็มีเลือดไหลปนมากับอุจจาระด้วยนั้นเอง เมื่อไหร่ที่เด็กๆ มีอาการคุณพ่อคุณแม่ควรหายาแก้ท้องผูกโดยควรปรึกษาแพทย์ถึงการเลือกใช้ยาจึงจะปลอดภัยที่สุด แต่ทั้งนี้ลองให้ลูกดื่มน้ำเปล่าและผักผลไม้ที่มีกากและเส้นใยมากขึ้น ก็ช่วยลดอาการท้องผูกให้กับเด็กๆ ได้ดีอีกด้วย
✨ ยาทั้งหมดนี้ หากมีติดไว้ที่บ้านก็จะเป็นผลดีกับลูก และเมื่อไหร่ที่ลูกน้อยมีอาการแพ้ยาตัวไหนขึ้นมา ควรหลีกเลี่ยง อีกทั้งการเก็บรักษายาก็เป็นสิ่งสำคัญมากๆ วิธีการเก็บรักษายามีดังนี้
– ก่อนการใช้ยาควรอ่านสลากยาให้ครบถ้วนและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
– ควรเก็บยาที่อุณหภูมิห้อง ไม่มีแสงแดดส่อง หรือทิ้งไว้ในรถ เพราะยาจะเสื่อมสภาพได้อย่างง่าย
– ไม่ควรเก็บไว้ในที่ที่เด็กสามารถหยิบยาได้เอง
– หากยาระบุว่าให้เก็บไว้ในตู้เย็น ห้ามแช่แข็งเด็ดขาด ควรเก็บในช่องปกติ เพราะถ้าแช่ในช่องแข็งจะทำให้ยานนั้นตกตะกอนได้
– ยาน้ำสำหรับเด็กที่มีขวดเป็นสีชา นั้นหมายความว่า ยานั้นต้องไม่ให้โดนแสง ไม่ควรเปลี่ยนภาชนะเป็นแบบใสหรือสีขาว จะทำให้ยาเสื่อมได้นั้นเอง
– ยาบางชนิดที่ต้องระวังเรื่องความชื้นนั้น ควรใส่สารกันชื้นที่มักเห็นเป็นซองเล็กๆ ไว้ในขวดยาตลอดเวลา และปิดภาชนะให้แน่น
– ควรเก็บยาไว้ในภาชนะที่บรรจุเดิมเพราะจะมีการระบุชื่อยาและวันที่ได้รับยา จะทำให้ทราบถึงระยะเวลาในการเก็บยาและทิ้งยาเมื่อหมดอายุนั้นเอง
Cr: Parents One
. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .
เลือกสิ่งที่ดีที่สุด เพื่อคนที่คุณรักที่สุด.. สวิมมิ่ง คิดส์ “ที่สุด เรื่องเสริมสร้างพัฒนาการเด็ก”
Swimming Kids เปิดให้บริการ 7 สาขา
💦 Swimming Kids สาขาพัฒนาการ
พื้นที่ให้บริการ: พัฒนาการ สวนหลวง อ่อนนุช พระโขนง ศรีนครินทร์ พระราม 9 ประเวศ
💦 Swimming Kids สาขาสุขุมวิท
พื้นที่ให้บริการ: สุขุมวิท พระโขนง อ่อนนุช บางนา พระราม 4 คลองเตย วัฒนา ประเวศ
💦 Swimming Kids สาขาพุทธมณฑล
พื้นที่ให้บริการ: พุทธมณฑล บางแค ตลิ่งชัน หนองแขม ศาลายา ทวีวัฒนา ปิ่นเกล้า ภาษีเจริญ
💦 Swimming Kids สาขาเกษตร-นวมินทร์
พื้นที่ให้บริการ: เกษตร-นวมินทร์ รามอินทรา ลาดพร้าว บางกะปิ บางเขน วัชรพล สายไหม หลักสี่
💦 Swimming Kids สาขารามคำแหง
พื้นที่ให้บริการ: รามคำแหง สะพานสูง คันนายาว หนองจอก มีนบุรี บึงกุ่ม บางกะปิ ลาดพร้าว ลาดกระบัง
💦 Swimming Kids สาขาเชียงใหม่
พื้นที่ให้บริการ: เชียงใหม่ แม่เหียะ ป่าแดด สุเทพ
💦 Swimming Kids สาขาชลบุรี
พื้นที่ให้บริการ: ชลบุรี บางปลาสร้อย บ้านโขด บางแสนสุข บ้านสวน อ่างศิลา